กาแฟอาราบิก้า Arabica Coffee

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลก กาแฟเกือบทุกพันธุ์มีถิ่นกำเนิด ดั้งเดิมในทวีปแอฟริกา แต่ที่ปลูกกันแพร่หลายในเชิงธุรกิจมีเพียง 2 พันธุ์ คือ กาแฟ อาราบิก้า ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea arabica L.และ กาแฟ โรบัสต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea canephora Pierre ผลผลิตของเมล็ดกาแฟในโลกมีมากว่าหกล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นเมล็ดกาแฟ อาราบิก้า มากกว่า 70% ที่เหลือเป็นเมล็ดกาแฟ โรบัสต้าและพันธุ์อื่น ๆกาแฟ อาราบิก้ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบน พื้นที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย(อะบิสซีเนีย เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6-9 องศาเหนือ แต่อาจพบต้นกาแฟอาราบิก้า ตรงช่วงรอยต่อบนภูเขาระหว่างเอธิโอเปียกับซูดาน และเอธิโอเปียกับเคนยาในเอธิโอเปียสามารถพบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญงอกงามอยู่ทั่วไป ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่บนพื้นที่สูง ระหว่าง 1,370 -1,830 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพอากาศในแถบนั้น ค่อนข้างหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี อยู่ระหว่าง 15-24 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,900 มิลลิเมตร สภาพดินเป็นดินร่วนสีแดง มีหน้าดินลึก สภาพอากาศโดยทั่วไปในแถบนี้ มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งมพร้อมๆ กับฤดูหนาว ใน ยุคเริ่มต้นของกาแฟอาราบิก้า ประวัติและความเป็นมาค่อนข้างสับสน เพราะมีผู้พบเห็นต้นกาแฟอาราบิก้าเจริญงอกงามอยู่ทั่วไปใต้ต้นอินทผาลัม แถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่จากการศึกษาและสำรวจ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญในด้านกาแฟอาราบิก้าของประเทศต่างๆ ที่ร่วมมือกันภายใต้ความช่วยเหลือขององค์กรระหว่างประเทศ สรุปว่า ในสมัยโบราณ ชาวเขาบางเผ่า ที่อาศัยอยู่บนที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย ได้อพยพขึ้นเหนือมายังตะวันออกกลาง ได้นำเมล็ดกาแฟติดตัวมาด้วย และได้ปลูกไว้ตามเชิงเขา ชาวเขาเหล่านี้ ใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้าผสมกับไขสัตว์ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ใช้เป็นอาหารเวลาเดินทางไกล ต่อมาเมื่อชาวเปอร์เซียเรืองอำนาจ ได้ขยายอาณาจักรมาสู่ตะวันออกกลาง ได้ขับไล่ชาวเขาเหล่านี้กลับสู่ป่าเอธิโอเปียดังเดิม ส่วนต้นกาแฟอาราบิก้ายังคงเจริญงอกงาม และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติต่อๆกันมาแถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่มีบางกระแสเชื่อว่า ในศตวรรษที่15 นักเดินทางชาวอิสลามได้นำต้นกาแฟอาราบิก้าจากเอธิโอเปียมาปลูกไว้ ที่อาราเบีย ชาวดัทช์ได้เดินทางมายังอาราเบียในศตวรรษที่ 16 ได้พบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญอยู่ทั่วไป จึงนำเมล็ดกาแฟไปเพาะและปลูกไว้ ตามแหล่งอื่นๆของโลก ในศตวรรษที่ 17 นักแสวงบุญอิสลาม ชาวอินเดีย ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจากประเทศเยเมน มาปลูกไว้ตามเชิงเขาของรัฐคาร์นาตากา ในประเทศอินเดีย และชาวฝรั่งเศสได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า จากอาราเบียไปปลูกที่เมืองเบอร์บอง เกาะรี-ยูเนียน กาแฟอาราบิก้าจากแหล่งปลูกเหล่านี้ ได้แพร่กระจากไปทั่วโลก ซึ่งใช้เวลามากกว่า 2 ศตวรรษ ใน ประเทศไทย พระสารศาสตร์พลขันธ์ ชาวอิตาลี ที่มารับราชการในประเทศไทยได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า มาปลูกไว้ที่จังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ 2393 มีชื่อเรียกกาแฟสมัยนั้นว่า "กาแฟจันทบูร" ต่อมาในปีพ.ศ. 2500 กรมกสิกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าหลายสายพันธุ์ จากประเทศบราซิล มาปลูกไว้ตามสถานีต่างๆของกรมกสิกรรมในภาคเหนือจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 มูลนิธิโครงการหลวง ภายใต้ความช่วยเหลือของกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าลูกผสมที่ผสมขึ้นมา เพื่อความต้านทานโรคราสนิมจากประเทศโปรตุเกส มาปลูกไว้ในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อส่งเสริมชาวไทยภูเขา ปลูกทดแทนการปลูกฝิ่นบนภูเขาในภาคเหนือ กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก มูลค่าการซื้อขายในตลาดโลก เป็นลำดับที่สอง รองจากน้ำมันปิโตรเลียม รายได้ของประชากร มากกว่า 50 ประเทศ ขึ้นอยู่กับกาแฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแอฟริกา กาแฟอาราบิก้าส่วนใหญ่ จะปลูกกันมากในประเทศแถบลาตินอเมริกา เช่น บราซิล โคลอมเบีย คอสตาริก้า กัวเตมาลา เม็กซิโก เอลซัลวาดอร์ฯในทวีปแอฟริกาประเทศที่ปลูกกาแฟอาราบิก้า ได้แก่ อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย แต่เป็นปริมาณที่ยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับแหล่งอื่นๆ ของโลกเมล็ด กาแฟอาราบิก้า เป็นกาแฟที่มีคุณภาพดี ให้ทั้งรสชาติ (flavour) และกลิ่นหอม (aroma) มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่หลายปัจจัยในเรื่องของรสชาติ และกลิ่นหอมของกาแฟอาราบิก้า เช่น สายพันธุ์ที่ปลูก ชนิดของดิน สภาพแวดล้อมความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่ซึ่งจะเกี่ยวข้องในเรื่องอุณหภูมิ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และกรรมวิธีปรุงรส เมล็ดกาแฟอาราบิก้า สามารถนำมาผลิต กาแฟคั่วบด (roasted coffee) และ กาแฟสำเร็จรูป (instant coffee) แต่ส่วนใหญ่นิยมนำมาผลิตกาแฟคั่วบด เพราะจะให้กลิ่นหอมและรสชาติที่ดีเวลาดื่ม ในเมล็ดกาแฟอาราบิก้า มีองค์ประกอบทางเคมีของสารประกอบจำพวกแป้ง น้ำตาล รวมทั้งวิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือ สารคาเฟอีน (caffeine)ในเมล็ดกาแฟอาราบิก้า มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 - 1.5 แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ปลูกด้วย สารคาเฟอีนในกาแฟ เมื่อดื่มเข้าไปจะไปกระตุ้นประสาท ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่มีบางกระแสเตือนว่า สารคาเฟอีนมีบทบาทต่อการเต้นของหัวใจ ซึ่งอาจจะมีผลต่อโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ที่แพร่หลายในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก แต่จะดื่มได้มากน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน อาจจะขึ้นอยู่กับความเคยชิน และสภาพ ของร่างกายของแต่ละบุคคลกาแฟ

กาแฟโรบัสต้า Robusta Coffee

ชื่อสามัญ Robusta coffeeชื่อวิทยาศาสตร์ Coffea robusta Pierre exFroehner L.วงศ์  Rubiaceae ลักษณะทรงพุ่ม ไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ทรงพุ่มแน่น มีการแตกกิ่งก้านสาขามากถิ่นกำเนิด ประเทศเอธิโอเปีย การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด (จากการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล)ข้อดีของพันธุ์ไม้ปลูกได้ดีในพื้นที่ราบ ไม่พบอาการใบไหม้ในช่วงเริ่มปลูกปลูกง่าย ให้ผลผลิตสูง และต้านทานต่อโรคได้มากกว่าสายพันธุ์อาราบิก้ากาแฟสายพันธุ์นี้เป็นกาแฟที่ปลูกกันทางภาคใต้ของประเทศไทย และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบได้ดีกว่ากาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า ตาม ลักษณะการใช้ประโยชน์ กาแฟเป็นพืชที่เราผลิตกันเพื่อใช้ในการทำเป็นเครื่องดื่ม ผู้ที่ปลูกควรตระหนักในข้อนี้ด้วยเพราะว่าเราจะได้ชื่นชมดอกเพียงไม่นานเท่านั้น หากท่านทำใจได้ในเรื่องนี้ก็ควรปลูก จำนวนต้นที่แนะนำให้ปลูกคือเพียง 1- 2 ต้นก็เพียงพอ มีความต้องการแสงแดดสูงกว่าสายพันธุ์อาราบิก้าเล็กน้อย(60-70%)หาก ต้องการให้ออกดอกบ่อยๆ ควรเด็ดผลที่ติดภายหลังดอกบานทิ้งให้หมด (โดยธรรมชาติของพันธุ์ไม้ที่มีผลจะส่งอาหารที่สังเคราะห์ได้ไปเลี้ยงผล หากผลถูกทำลาย อาหารที่มีอยู่จะใช้ในกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งการออกดอกในช่วงเวลาที่เร็วขึ้น)