เรื่องของกาแฟ

เคล็ดลับการลงทุน ที่ไม่มีวันขาดทุน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนของเราไม่ขาดทุนนั้น เริ่มมาจากคำตอบที่เราต้องการ จากคำถามที่เราถาม คำตอบที่เราต้องการคือ "เราควรจะทำอะไร" มากกว่า "เราควรคิดอย่างไร"  เพราะฉะนั้น Howto ที่เราควรค้นหาและต้องการได้คำตอบ นั้นก็คือ How to do แต่สิ่งที่เรามองข้ามเห็นว่าไม่สำคัญคือ How to think นั้นเอง

อ่านต่อ ...

6 กลยุทธ์การตลาด “ธุรกิจด้านอาหาร” ที่จะพาคุณไปไกลในยุค 4.0

การมีธุรกิจหรือกิจการเป็นของตัวเอง ถือเป็นสิ่งที่ใครหลายคนใฝ่ฝัน โดยเฉพาะเหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ที่เริ่มมีเงินเก็บ และอยากก้าวออกจากวงจรชีวิตที่เหมือนเดิมเช่นทุกวัน ซึ่งหากใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ลองทำตามในสิ่งที่เรากำลังบอกคุณดูสิ

อ่านต่อ ...

12 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จธุรกิจแฟรนไชส์

12 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จธุรกิจแฟรนไชส์ หากคุณกำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์ในการลงทุน 12 ขั้นตอนนี้ จะเป็นแนวทางในการตัดสินใจให้คุณไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจ

อ่านต่อ ...

เคล็ดลับการทำร้านกาแฟ ให้ประสบความสำเร็จ

สำหรับหลายๆคนที่มีความฝันอยากจะเปิดร้านกาแฟเป็นของตัวเอง ท่ามกลางการแข่งขันกันของธุรกิจกาแฟ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจกาแฟของเราประสบความสำเร็จ โดยวันนี้ทางแอทมินได้นำเคล็ดลับดีๆในการทำธุรกิจร้านกาแฟมาฝากกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย 

อ่านต่อ ...

4 คุณสมบัติ “เจ้าของ” กิจการ : วีระยุทธ เชื้อไทย

ในยุคที่ใครๆ ก็พูดกันถึงการเริ่มต้นธุรกิจ “Startup SME” ศัพท์คำนี้เริ่มปรากฏให้เห็นทางการสื่อสารในช่องทางต่างๆ มากมาย รวมทั้งบริษัทใหญ่ๆ ในวงการสื่อสาร หรือวงการธนาคาร ก็หันมาให้ความสนใจในกลุ่มผู้เริ่มต้นธุรกิจรายใหม่มากยิ่งขึ้นเช่นกัน

4 คุณสมบัติการเป็น “เจ้าของกิจการ” หรือ PCTR ควรเช็คก่อนเริ่มกิจการ หากต้องการความสำเร็จในธุรกิจ

อ่านต่อ ...

ประวัติและความเป็นมาของกาแฟ

เครื่องดื่มกาแฟถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากคนทั้งโลกและมีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี ที่ถูกค้นพบโดยบังเอิน หรือบางคนเคยกล่าวว่ากาแฟเป็นเครื่องดื่มที่อมตะไม่มีวันเสื่อมคลายจากโลกมนุษย์ตลอดกาล

อ่านต่อ ...

สายพันธุ์กาแฟ

ในโลกเรานี้มีกาแฟมากมายหลายสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์ก็มีคุณสมบัติในด้านต่างๆแตกต่างกันไป แต่มีกาแฟอยู่สองสายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากที่สุดคือกาแฟสายพันธุ์ อาราบิก้า Arabica และสายพันธุ์โรบัสต้า Robusta ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์ก็มีลักษณะแต่งต่างกันทั้งการเพาะปลูก รสชาติ และกลิ่น

อ่านต่อ ...

เทคนิครวยติดจรวด กับธุรกิจร้านกาแฟ

ธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในสมัยนี้คือร้านกาแฟ เนื่องจากเหมาะกับลูกค้าวัยทำงานผู้เร่งรีบในตอนเช้า ขณะเดียวกันพื้นที่ร้านยังเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้เข้ามานั่งทำงานหรือพบปะ สังสรรค์กัน การลงทุนทำร้านกาแฟจึงถือเป็นหนึ่งลู่ทางที่จะช่วยให้เจ้าของกิจการประสบ ความสำเร็จได้

อ่านต่อ ...

12 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จธุรกิจแฟรนไชส์


   1.รู้จักระบบแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ซอว์ (Franchisor) คือ ผู้ขายสิทธิแฟรนไชส์ ขายสิทธิรูปแบบการทำธุรกิจ ตราสินค้า มาตรฐานการทำธุรกิจแฟรนไชส์ซี (Franchisee) คือ ผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์ (จำง่ายๆ see คือ ตัวเรา ที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์)

   2.เลือกประเภทธุรกิจที่สนใจ

แฟรนไชส์ประกอบด้วยหลากหลายธุรกิจ ได้แก่ อาหาร เบเกอรี่และเครื่องดื่ม บริการ การศึกษา ค้าปลีก และธุรกิจทั่วไป วิเคราะห์ตัวเองว่าชอบธุรกิจประเภทใด

   3.ศึกษาหาข้อมูลบริษัทแฟรนไชส์

วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากแฟรนไชส์ซอว์เอง กระทรวงพาณิชย์ สมาคมแฟรนไชส์ต่างๆ 

Tip : หาโอกาสทดลองซื้อสินค้า หรือใช้บริการแฟรนไชส์ที่สนใจ

   4.มองหาทำเล

ทำเลเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์

Tip : แฟรนไชส์บางแบรนด์ สามารถช่วยประสานเรื่องทำเลเพื่อผู้ลงทุน รวมถึงสามารถนำเสนอทำเลที่ดีสำหรับการลงทุนของแฟรนไชส์ซีได้ด้วย

   5.เริ่มติดต่อพูดคุยบริษัทแฟรนไชส์ต่างๆ

โดยเลือกแฟรนไชส์ที่สนใจอย่างน้อย 3 แฟรนไชส์, ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม และสอบถามรายละเอียดการลงทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงรูปแบบการแบ่งผลตอบแทน และเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ 

   6.วิเคราะห์ และเปรียบเทียบ 

ได้แก่ วิเคราะห์รูปแบบการลงทุน, ยอดเงินลงทุน, ค่าใช้จ่ายต่างๆ, สัดส่วน และวิธีการแบ่งผลตอบแทน และระยะเวลาการคืนทุน 

Tip : จัดอันดับแฟรนไชส์ที่สนใจ 3 อันดับแรก

   7.ตัดสินใจ และเริ่มต้นดำเนินการกระบวนการแฟรนไชส์ 

- ตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่ต้องการ แฟรนไชส์ที่เลือกควรมีตัวอย่างความสำเร็จให้เห็น

- ติดต่อเพื่อเจรจาการลงทุน หาข้อมูลเชิงลึกเพื่อประกอบการตัดสินใจ

- เข้าเยี่ยมชมการดำเนินการ และกระบวนการบริหารจัดการร้านค้าแฟรนไชส์

- ศึกษาสัญญาแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ที่ดี สัญญาควรเป็นธรรม

   8.แฟรนไชส์ซอว์คัดเลือกผู้ร่วมลงทุนอย่างไร 

- ศักยภาพผู้ร่วมลงทุนที่มี เงินทุนส่วนตัวไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุด แต่ความตั้งใจ และความใส่ใจในธุรกิจสำคัญ

Tip : หากพลาดจากแฟรนไชส์แรก ลองพิจารณา และติดต่อ แฟรนไชส์ที่เหลือ (3 แฟรนไชส์ที่เลือกไว้)

   9.มองหาแหล่งเงินทุน 

- พิจารณาวงเงินลงทุน

- วิเคราะห์เงินทุนส่วนตัว และมองหาแหล่งเงินทุนส่วนเพิ่มหากทุนไม่พอลองปรึกษาธนาคารพาณิชย์ที่เข้าใจ และเชี่ยวชาญในธุรกิจแฟรนไชส์

   10.ดำเนินการสินเชื่อและเตรียมพร้อมเปิดกิจการ 

- เพียงแจ้งที่ผู้ประสานงานแฟรนไชส์ซอว์ได้เลย ทางแฟรนไชส์ซอว์จะดำเนินการนำส่งรายละเอียดการลงทุนให้กับธนาคาร

- ระหว่างนี้สามารถเตรียมความพร้อมเรื่องการก่อสร้าง และการตกแต่งสถานประกอบการ รวมถึงการจัดซื้อเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการเปิดกิจการ

   11.ค่าใช้จ่ายต่างๆ ธนาคารจะชำระตรงผ่านแฟรนไชส์ซอว์

เจ้าของกิจการจำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรมการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ตามมาตรฐานที่แฟรนไชส์ต่างๆ กำหนดไว้ และสรรหาบุคลากรที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการ กรณีประสบปัญหาด้านบุคลากร แฟรนไชส์ซอว์จะดำเนินการสนับสนุนในการสรรหาและฝึกอบรมให้

   12.เปิดดำเนินกิจการ

บางแฟรนไชส์อาจมีการส่งเจ้าหน้าที่มาสนับสนุนดำเนินการในช่วงแรกของการดำเนินการ รวมถึงแฟรนไชส์ซอว์จะหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ผ่านระบบธนาคารเพื่อความสะดวก

Tip : หากเกิดปัญหา อุ่นใจได้ วิเคราะห์ปัญหา และสามารถขอคำปรึกษาจากแฟรนไชส์ซอว์ได้

Share on Facebook Share on Google Share on Twitter