เว็บไซต์ แนะนำ
|
Rabika Coffee เข้าร่วมงาน Esso Run Celebrating 125 years in Thailand
Rabika Coffee ได้เข้าร่วมงาน Esso Run Celebrating 125 years in Thailand |
Rabika Coffee เปิดสาขาใหม่ ปั๊ม Esso สาขาอ่อนนุช-ลาดกระบัง
คุณชญานิศ ชัยรัตน์อุดมผล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส อาร์ ดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้เกียรติมอบดอกไม้แสดงความยินดี |
บริษัท เอส อาร์ ดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ราบิก้า คอฟฟี่) ร่วมกับ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน มอบเครื่องมือแพทย์และทุนการศึกษา
คุณสมศักดิ์ รุ่งโรจน์อุดมผล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส อาร์ ดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ราบิก้า คอฟฟี่) ร่วมกับ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน เดินทางมอบเครื่องมือแพทย์ที่ขาดแคลน |
เจาะลึกธุรกิจแฟรนไชส์กาแฟสด Rabika Coffee โดย คุณสมศักดิ์ รุ่งโรจน์อุดมผล
" เจาะลึกธุรกิจแฟรนไชส์ กาแฟสด Rabika coffee "
|
Smart Sme Expo 2019 เปิดร้านกาแฟ RABIKACOFFEE THAILAND
สวัสดีค่าาาา วันนี้ Rabika coffee มาร่วมออกบูธที่งาน Smart SME Expo 2019 ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ☺️ |
ร่วมฉลองแสดงความยินดีในวาะระครอบรอบ 120 ปี เอสโซ่แห่งประเทศไทย
ประมวลภาพงานร่วมฉลองแสดงความยินดีในวาระ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจการในประเทศไทยมาแล้วกว่า 120 ปี |
ประมวลภาพ โครงการบริจาค ทุนการศึกษาให้น้องๆ ทีมีผลการเรียนดี
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)และ ราบิก้า คอฟฟี่ และ พันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ ได้ร่วมโครงการบริจาค ทุนการศึกษาให้น้องๆ ทีมีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ การมอบทุนการศึกษาในครั้งนี้จะจัดขึ้นที่จังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2558 นี้ |
การจัดอบรมบาริสต้า ราบิก้า คอฟฟี่
การอบรมบาริสต้า ราบิก้า คอฟฟี่ ในวันที่ 16 - 24 มิ.ย. 58 ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานเป็นกันเองกับการอบรมบาริสต้า ราบิก้า คอฟฟี่ |
สาขา ราบิก้า คอฟฟี่ พร้อมใกล้เปิดให้บริการ
เตรียมพบกับ ร้านกาแฟสด ราบิก้า คอฟฟี่ สาขา ต่าง ๆ พร้อมใกล้เปิดให้บริการ ทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด พร้อมโปรโมชั่นพิเศษต่างๆ |
4 ข้อเช็คธุรกิจ คุณพร้อม “ขายแฟรนไชส์” แล้วหรือยัง!
การที่กิจการดำเนินการจนเข้มแข็งแล้วในระดับหนึ่ง SME มักคิดถึงการขยายกิจการ หลายธุรกิจไม่สามารถไปถึงฝั่งฝันได้มักมีสาเหตุมาจากเงินลงทุนไม่เพียงพอ การขยายสาขาจึงเป็นเรื่องยาก ทั้งๆ ที่ธุรกิจมีอนาคตสดใส หากธุรกิจของเพื่อนๆอยู่ในสถานการณ์นี้ การคิดขายแฟรนไชส์อาจจะเป็นอีกคำตอบหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตไปข้างหน้า |
8 สูตรเลือกแฟรนไชส์ที่ดี !!
แม้การร่วมลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์จะไม่ใช่การเริ่มนับหนึ่งเหมือนกิจการตนเอง แต่จะแน่ใจอย่างไรว่า แฟรนไชส์ที่กำลังสนใจนั้นจะนำพาความสำเร็จมาสูุ่รกิจได้ ยิ่งถ้าไม่เคยมีประสบการณ์การทำธุรกิจมาก่อน การตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ดี ๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งลักษณะแฟรนไชส์ที่ดีควรมีลักษณะ 8 ข้อดังต่อไปนี้… |
ประมวลภาพกิจกรรมช่วยเหลือสังคมประจำปี 2560
บริษัท เอส อาร์ ดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (RABIKA COFFEE) ได้จัดกิจกรรมช่วยเหลือสังคมประจำปี 2560 มูลนิธิคุ้มครองเด็กบ้านครูยุ่น จังหวัดสมุทรสงคราม |
1.ขนาดของกิจการ
ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงขนาดหน้าร้านที่ใหญ่โตเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จใยสายตาคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นจำนวนสาขา ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของธุรกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะพื้นฐานที่สามารถนำพาไปพิจารณาเปรียบเทียบธุรกิจรายอื่นในเบื้องต้นได้ค่อนข้างชัดเจน
2. อายุของกิจการ
ยิ่งระยะเวลานานมากเท่าใด ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ที่เจ้าของกิจการมีต่อลักษณะธุรกิจและภาพรวมของตลาด ซึ่งพร้อมจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ทำตาม รวมถึงทิศทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคตด้วย
3. ผลกำไรของกิจการ
คงไม่มีใครอยากลงทุนในกิจการที่ไม่มีกำไร ฉะนั้นหากกิจการนั้นไม่มีกำไร หรือประสบภาวะขาดทุน ก็ส่อแววไม่สดใสเสียแล้ว เพราะการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นวิถีของการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ไม่ใช่วิธีเพื่อแสวงหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาความล้มเหลว อย่างไรก็ตาม การจะรู้ผลกำไร/ขาดทุนของธุรกิจอาจค่อนข้างยากสักหน่อย แฟรนไชส์ซอร์อาจใช้วิธีสอบถามจากผู้ประกอบการสาขา
4. ความเป็นไปได้ในการทำการตลาด
ใช่ว่าระบบแฟรนไชส์จะเหมาะสมกับทุกธุรกิจ เพราะถึงแม้ว่าผลประกอบการของกิจการก่อนหน้านี้จะประสบความสำเร็จ แต่การขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเดิม ซึ่งผู้สนใจร่วมลงทุนจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในเชิงการตลาดด้วยว่าเป้นเช่นไร กล่าวคือ ธุรกิจจะต้องสามารถเป็นที่ต้องการของทั้งกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้ร่วมธุรกิจ เพราะหากระบบปฏิบัติการยาก หรือลงทุนสูงจะเสี่ยงต่อการขาดทุนได้
5. ความมีเอกลักษณ์
ความมีเอกลักษณ์ในตัวสินค้า/บริการ เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ เพราะสามารถเปิดตลาดได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องประกอบไปด้วยปัจจัยอื่นๆด้วย อย่างไรก็ตาม หากธุรกิจจะมีเอกลักษณ์ แต่แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถถ่ายทอดได้ ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในระบบแฟรนไชส์
6. ความพร้อมในการถ่ายทอดของแฟรนไชส์ซอร์
หากธุรกิจที่สนใจมีชื่อเสียง กิจการใหญ่โต และมีแววรุ่ง ตัวแฟรนไชส์ซอร์เองก็เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ มีกลยุทธ์รอบด้าน แต่กลับขาดการเป็นผู้ถ่ายทอดที่ดี คือไม่สามารถวางโมเดลธุรกิจทั้งกระบวนการผลิต การตลาด และบริหารจัดการอย่างมีระบบ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ให้แก่แฟรนไชส์ซีได้ การทำธุรกิจก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากระบบแฟรนไชส์คือการก๊อบปี้รูปบแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาดำเนินการด้วยผู้ประกอบการณ์อีกรายหนึ่ง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าของกิจการจะต้องถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้แฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับตนเองได้ด้วย
7. ความพร้อมในการถอดแบบของธุรกิจ
การพิจารณาระบบธุรกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ เพราะหากโมเดลธุรกิจมีความซับซ้อนและถูกจัดวางอย่างไม่เป็นระบบ ก็ยากที่จะถอดแบบมาดำเนินนการได้ อีกทั้งควรพิจารณาด้วยว่าแฟรนไชส์ซอร์มีการเขียนอธิบายขั้นตอนการทำธุรกิจในรูปของคู่มือด้วยหรือไม่ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้แฟรนไชส์ซีสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถทบทวนความรู้เมื่อต้องการด้วย ทั้งนี้จะช่วยให้แฟรนไชส์ซีมั่นใจได้ว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน นอกจากนี้แฟรนไชส์ซอร์ควรกำหนดบทบาทที่ชัดเจนของทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี โดยแฟรนไชส์ซอร์จะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยี ระบบและให้สิทธิการใช้แบนด์เท่านั้น แต่จะไม่เข้าไปทำธุรกิจ ในขณะที่แฟรนไชส์ซี จะทำหน้าที่ ในการลงทุน ดูแลสาขา ดูแลลูกค้า และบริหารงานภายใต้แผนธุรกิจ
8. ขนาดของการลงทุน
สิ่งสำคัญประการสุดท้าย คือการพิจารณาถึงขนาดการลงทุนของแฟรนไชส์นั้นว่าเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปขนาดการลงทุนจะประกอบด้วย ค่าแรกเข้า ค่า Royalty Fee ค่าอุปกรณ์ต่างๆ เป้นต้น หากเป็นการลงทุนมากเกินไป อาจกลายเป้นการแบกภาระ หรือน้อยเกินไปอาจส่อแววถึงความไม่มั่นคงของธุรกิจ เนื่องจากการที่เงินระดมทุนของแฟรนไชส์ซอร์จะกระทบต่อการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นผลพวงถึงแฟรนไชส์ในอนาคตได้